วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


คุณธรรม  จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา
คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง  คือ   ความกตัญญู  ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย   ทางวาจา  และ ทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ    ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ    รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม  ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น    การแสดงออกทางกาย   วาจา  ใจ  ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ    ให้มีความอ่อนโยน   สุภาพ นอบน้อม   สุขุม  รอบคอบ   เช่น   การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ   พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี   เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น    การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา   เป็นการสำรวมกาย  สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ     การก้มกราบ ท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง   สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี  เป็นการลดอัตตา   ความยึดมั่น  ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้  จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ  รู้จักคุณค่าของตัวเอง   ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ  งอกงาม  มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง
ค่าของคน  อยู่ที่ผลของงาน  บนพื้นฐาน อุดมการณ์ชีวิต งาน
คือ ชีวิต   ชีวิต คืองาน บันดาลสุข  ทำงานให้สนุก  เป็นสุข เมื่อ ทำงาน

คุณธรรม  4 ประการ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
1. การรักษาความสัตย์   ความจริงใจต่อตนเอง  ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
2. การรู้จักข่มใจตนเอง   ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติ  อยู่ใน    ความสัตย์  ความดี
3. การอดทน   อดกลั้น   อดออม  ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์    สุจริต   ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
4. การรู้จักละวางความชั่ว   ความทุจริต  และ รู้จักเสียสละประโยชน์   ส่วนน้อยของตน  เพื่อประโยชน์ ส่วนใหญ่ของ บ้านเมือง

คุณธรรม 7 ประการ  ของ พระพรหมคุณาภรณ์  (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)  ที่จะทำให้บุคคลมีความเจริญในชีวิต
1.  รู้จักเลือกหาแหล่งความรู้และแบบอย่างที่ดี
2.  มีชีวิตและอยู่ร่วมสังคมเป็นระเบียบด้วยวินัย
3.  พร้อมด้วยแรงจูงใจ   ใฝ่รู้   ใฝ่สร้างสรรค์
4.  มุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ
5.  ปรับทัศนคติและค่านิยมให้สมแนวเหตุผล
6.  มีสติกระตือรือร้นตื่นตัวทุกเวลา
7.  แก้ปัญหาและพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความรู้คิด

ปณิธาน  10 ข้อ ของ พระพิพิธธรรมสุนทร ที่นำไปสู่ความสำเร็จ
1.  ยึดมั่นกตัญญู                         2.  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.  มีความเพียรสม่ำเสมอ               4.  อย่าเผลอใจใฝ่ต่ำ
5.  เชื่อฟังคำผู้หลักผู้ใหญ่              6.  รักไทยดำรงไทย
7.  ใส่ใจในโลกกว้าง                    8.  ยึดแบบอย่างที่ดี
9.  รู้รักสามัคคีตลอดเวลา              10.  ใช้ศาสนาเป็นเครื่องดำรงชีวิต
คุณธรรม เพื่อความสวัสดีของชีวิต  ของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)
สิ่งที่เธอควรมี "สติปัญญา "                     สิ่งที่เธอควรแสวงหา "กัลยาณมิตร"
สิ่งที่เธอควรคิด "ความดีงาม"                   สิ่งที่เธอควรพยายาม "การศึกษา"
สิ่งที่เธอควรเข้าหา "นักปราชญ์"               สิ่งที่เธอควรฉลาด "การเข้าสังคม"
สิ่งที่เธอควรนิยม "ความซื่อสัตย์"               สิ่งที่เธอควรตัด "อกุศลมูล"
สิ่งที่เธอควรเพิ่มพูน "บุญกุศล"                  สิ่งที่เธอควรอดทน "การดูหมิ่น"
สิ่งที่เธอควรยิน "พุทธธรรม"                     สิ่งที่เธอควรจดจำ "ผู้มีคุณ"
สิ่งที่เธอควรเทิดทูน "สถาบันกษัตริย์"         สิ่งที่เธอควรขจัด "ความเห็นแก่ตัว"
สิ่งที่เธอควรเลิกเมามัว "การพนัน"              สิ่งที่เธอควรสร้างสรรค์ "สัมมาชีพ"
สิ่งที่เธอควรเร่งรีบ "การแทนคุณบุพการี"      สิ่งที่เธอควรปฏิบัติทันที

โครงการสอน
รหัสวิชา  PC54505   3(2-2-5)วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 
Innovation, Technology and Information in Educationสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
 คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
าคเรียน1/2555
 _________________________________________________________________
คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์  ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการ เรียนรู้  การสร้าง  การออกแบบ  การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์
    เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
    1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศได้
    5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
    6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
    7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
    9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
    10. เสนอแนวทางในการสร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
    11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
    12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
รูปแบบการเรียนการสอน
     เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) กับการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Learning)
วิธีสอน
     ใช้วิธีสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning)  และวิธีสอนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 1  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 2  หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวนวัตกรรม  เทคโนโลยี และสารมสนเทศ
หน่วยการเรียนที่ 3  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 4  จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 5  การออกแบบการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 6  นวัตกรรมการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนที่ 8  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนที่ 9  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน